7 สิ่งอันตรายในเทพนิยาย ที่อาจชี้นำแนวคิดผิด ๆ ให้เด็ก

732

ในเทพนิยายและนิทานพื้นบ้านมักแฝงข้อความบางอย่างไว้ให้เราได้ขบคิดกัน นอกจากเรื่องราวที่สวยงามและภาพการ์ตูนแสนน่ารัก จนทำให้เด็กๆ ตกหลุมรัก แต่ ชาร์ล แปโร ผู้เขียนเรื่องซินเดอเรลล่า ได้แต่งเรื่องนี้ไว้โดยเแฝงแง่มุมในตอนจบด้วยกัน 2 รูปแบบ คือแสดงให้เห็นว่าความดีสำคัญกว่ารูปลักษณ์ และแรงผลักดันและความฉลาดคือสิ่งสำคัญ

แต่ในทางกลับกัน เทพนิยายบางเรื่องมักชี้นำเด็กๆ ไปในทางที่ผิดซึ่งผู้ใหญ่อย่างเราอาจจะต้องพูดคุยกับเด็กๆ เพื่อให้เข้าใจถึงหลักความจริงบางอย่าง ซึ่งเราไม่เคยสังเกตในนิทานมาก่อนจะมีเรื่องไหนกันบ้าง พร้อมแล้วไปชมกันเลย

1. การเป็นคนดีไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นแม่บ้าน

ในนิทานเรื่องสโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ตัวละครมักจะเล่าถึงธรรมเนียมของตัวละครในเทพนิยาย ว่าการทำงานบ้านหมายถึงการทำดี หากละครที่ไม่ดีคือคนที่ทำอะไรไม่เป็น นั่นจึงกลายเป็นเรื่องที่กำหนดว่าผู้หญิงที่ดีต้องสนใจในงานบ้านเป็นหลัก

2. รางวัลสูงสุดของชีวิตไม่ใช่การแต่งงาน

มีปัญหา ผจญภัย ได้รางวัล นี่การเรียงฉากในเทพนิยาย การแต่งงาน คือรางวัลสูงสุด ซึ่งสำหรับพระเอกคือความรักที่สมหวัง ความยุติธรรม ยศฐาบรรดาศักดิ์ หรือความร่ำรวย ในขณะนางเอกมักจบลงที่การแต่งงาน นั่นถือเป็นการชี้นำให้เด็กหลายคนตั้งเป้าสูงสุดไว้ที่การแต่งงาน ซึ่งความจริงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของชีวิตคู่เท่านั้น

3. บางครั้งตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

เคียรา ไนท์ลีย์ ได้สารภาพกับนักข่าวว่า เธอไม่ให้ลูกของเธออ่านและดูเทพนิยายบางเรื่องเกี่ยวกับเจ้าหญิง เพราะเธอมองว่าตัวละครในเรื่องไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเอง และรอการช่วยเหลือจากผู้ชายและเวทมนตร์วิเศษ เช่น ซินเดอเรลล่าไม่เคยสู้เพื่ออิสรภาพ แต่โชคดีที่ได้นางฟ้าแม่ทูนหัวมาช่วยไว้ ซึ่งในชีวิตจริงไม่มีนางฟ้า เคียรายังบอกอีกว่าเรื่องที่ให้ลูกสาวดูคือเรื่อง Moana และ Frozen

4. คุณเท่านั้นที่กำหนดคนที่จะมาจุมพิตคุณได้

คริสเทน เบลล์ นักแสดงสาวบอกว่าเธอคุยกับลูกสาวเธอถึงตอนจบของสโนวไวท์ ว่าในชีวิตจริงมันน้อยมากที่จะมีเจ้าชายตัวจริงจะไปจุมพิตสโนไวท์ที่อยู่ในสถานะไร้การป้องกันตัวแบบนั้น และมันเป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างยิ่งและผู้ใหญ่ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ เพราะสโนไวท์ที่มีอายุเพียงแค่ 14 ปีเท่านั้น

5. หากไม่มีใครได้ยินคุณ ไม่ได้แปลว่าคุณไม่มีเสียง

จากเรื่อง Little Mermaid แอเรียลสละทุกสิ่งและยอมเสี่ยงภัยอันตรายเพื่อไปหาเจ้าชายที่เธอเพิ่งเห็นเพียงสองสามครั้ง ซึ่งในต้นฉบับของเทพนิยายเรื่องนี้ แอเรียลมีจุดจบที่แสนเศร้า

ในเรื่องนี้ นางเงือกน้อยยอมสละเสียงของตัวเอง เพื่อเอาชนะใจของเจ้าชาย ซึ่งมันไม่ใช่พฤติกรรมที่จะพึงกระทำสมสำหรับเด็กสาว

6. เด็กผู้หญิงจะเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำลง

จากการศึกษาพบว่าเด็กสาวที่ชอบดูการ์ตูนเกี่ยวกับเจ้าหญิง มักเป็นคนไม่ค่อยเห็นคุณค่าในตัวเองเมื่อโตขึ้น เด็กสาวหลายคนจึงใฝ่ฝันอยากเป็นตัวละครที่ตัวเองชอบ จึงเป็นเหตุผลที่เด็กผู้หญิงมักดูแลเสริมแต่งตัวเองมากมายให้เหมือนเจ้าหญิงในเทพนิยาย แต่มันก็ไม่ได้เหมือนอย่างเทพนิยายแต่งขึ้น ทำให้เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำลง

7. เป็นคนดีหรือคนเลวไม่ได้ตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอก

จากในนิทานตัวร้ายมักรูปโฉมอัปลักษณ์และน่ากลัว ในขณะที่ตัวละครเอกจะมีรูปโฉมสวยงาม เช่น ซินเดอเรลล่าฉบับพี่น้องกริมม์ พี่สาวต่างมารดาของเธอเป็นคนหน้าตาสวยงามแต่มีนิสัยชั่วร้ายแฝงไว้ ต่างจากเวอร์ชั่นหน้าจอ ถือเป็นการชี้นำให้เด็กไปในทางที่ผิดว่าคนหน้าตาไม่ดี พิกลพิการคือคนไม่ดี และยกย่องคนสวยหล่อแทน

ที่มา : brightside , เรียบเรียง : Soooksan