8 วิธีแยกแยะงูพิษ และเทคนิคไม่ให้โดนงูกัด

38864

ประเทศไทย ถือว่าเป็นแหล่งอาศัยของงูมีพิษจำนวนมากมาย ยิ่งบ้านไหนที่อยู่ติดพื้นที่รกร้าง เป็นทุ่งนายิ่งมีโอกาสสูงที่จะได้เจองูพิษ อย่างบนโลกออนไลน์ที่เป็นกระแสเมื่อไม่นานมานี้ อยู่ดีๆ มีงูเลี้อยเข้ามาฉกถึงบนโรงพัก วันนี้เราจึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการรับมือกับงูเหล่านี้ หรือวิธีการแยกแยะงูพิษ ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วิธีป้องกันงูพิษกันเลย

เราจะรู้ได้อย่างไรว่างูตัวไหนมีพิษหรือไม่มีพิษ ?

ผู้ชำนาญด้านสัตว์เลื้อยคลาน (Herpetologist) ได้อธิบายระหว่างงูพิษและงูไม่มีพิษเอาไว้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร แม้บางเงื่อนไขจะไม่สามารถแยกได้ แต่ความแตกต่างเบื้องต้นเป็นสิ่งที่เราควรรู้ เพราะมันอาจช่วยคุณได้ในสถานการณ์ที่คับขัน จะมีความแตกต่างอย่างไรบ้างไปดูกันเลย

1. ดวงตา

ม่านตาที่แตกต่างกัน งูที่ไม่มีพิษจะมีรูม่านตาที่กลมในขณะที่งูพิษมักจะมีรูม่านตาเป็นแนวตั้ง ส่วน งูแบล็คแมมบา (แอฟริกา), งูเห่า (แอฟริกา, เอเชีย, ตะวันออกกลาง) และงูไทปัน (ออสเตรเลีย) ไม่เข้าข่ายนี้เพราะ เป็นงูพิษที่มีรูม่านตากลม

สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ในขณะที่ตกอยู่ในอันตราย เช่น งูหมอก ที่มีหัวเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายคลึงกับงูพิษในกลุ่มงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูม่านตาของตัวเองได้ บ่อยครั้งจึงถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงูพิษ

2. ปกติแล้วงูพิษจะสามารถมองเห็น “รังสีความร้อน” จากสิ่งมีชีวิตผ่านอวัยวะที่เป็นรูเล็กๆ คล้ายรูจมูก ที่เรียกว่า Pit Organ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการล่าเหยื่อ ยิ่งกว่าดวงตางูเสียอีก

3. มีหัวแตกต่างกัน โดยงูพิษส่วนใหญ่จะมีหัวรูปทรงสามเหลี่ยม ส่วนงูไม่มีพิษจะมีหัวเป็นรูปทรงโค้งมน

4. บริเวณปลายหางของงูพิษมักจะมีเกล็ดแถวเดียว ส่วนงูไม่มีพิษจะมีเกล็ดแบ่งเป็น 2 แถวอยู่ที่ปลายหาง

5. งูพิษส่วนใหญ่เรามักพบว่ามีสีสันสดใสและสามารถขู่ฟ่อ พร้อมทำเสียงสั่น แถมยังมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ยกเว้นงูบางประเภท เช่น งูมิลค์ ที่มีสีสันสดใส

6. ส่วนงูที่มีลักษณะคล้ายกันอย่างงูพิษในวงศ์งูแมวเซาและงูน้ำที่ไม่มีพิษ คุณจะแยกออกได้โดยดูจากวงศ์งูแมวเซาจะมีลวดลายวงกลมหรือซิกแซกพาดตามลำตัว ส่วนงูน้ำจะมีลายสีเหลืองรอบคอ

7. ส่วนงูที่มีลายที่เป็นรูปทรงคล้ายเพชรอยู่บนผิวหนังหรือมี 3 สี ส่วนใหญ่พวกมันเป็นงูพิษ

8. งูที่อาศัยในน้ำ ถ้าว่ายน้ำโดยปรากฏให้เห็นทั้งตัวเหนือน้ำคือ งูพิษ ส่วนว่ายน้ำโดยที่ลำตัวมันจมอยู่ใต้น้ำคือ งูไม่มีพิษ

การป้องกันเพื่อไม่ให้เจองูกัด

หากคุณเจองูโผล่เข้ามาในบ้านของตัวเอง คุณควรป้องกันตัวเองให้ดีก่อนที่จะถูกพวกมันกัดด้วยวิธี ดังนี้

1. บ้านของคุณควรดูแลไม่ให้มีต้นไม้ ต้นหญ้าที่ดูรกเกินไป เพราะสถานที่รกๆ คือสถานที่โปรดของงู

2. หนูถือว่าเป็นแหล่งอาหารของงู เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเจองู คุณควรกำจัดหนูในบ้านให้หมด

3. แอมโมเนีย เป็นกลิ่นที่งูไม่ชอบ ดังนั้นคุณควรใช้ผ้าชุบแอมโมเนียวางไว้ในสวนของคุณ แต่แอมโมเนียไม่ใช่สารที่เป็นอันตรายต่องู เพียงแค่ไล่ให้มันไปเท่านั้น

4. การใส่รองเท้าที่ปิดมิดชิด เป็นสิ่งที่คุณควรใส่ใจเมื่อจำเป็นต้องเดินป่า

5. งูชอบซ่อนอยู่ตามซอกหินต่างๆ ทำให้นักปีนเขามักถูกงูกัดได้บ่อยครั้ง ซึ่งคุณควรหลีกเลี่ยงพื้นที่เหล่านี้

6. งูส่วนใหญ่จะโจมตีมนุษย์ก่อนก็ต่อเมื่อมีอะไรทำให้พวกมันกลัว ระหว่างเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมพวกมันจะดุร้ายเป็นพิเศษเพราะเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ เมื่อหวาดกลัวพวกมันจะพ่นพิษออกมาได้มากกว่าปกติ

7. เมื่อต้องเดินป่า ให้คุณใช้ไม้แหวกหญ้าทำเสียงดังก่อนที่จะเดินไป และหลีกเลี่ยงพื้นที่เปียกชื้น หญ้าสูง

8. เมื่อคุณต้องพักค้างแรมในป่า ไม่ควรเปิดไฟไว้ เพราะแสงไฟจะดึงดูดงู รวมถึงกลิ่นร่างกายของคุณ เพราะฉะนั้นอย่าลืมเขย่าเสื้อผ้าของคุณดูทุกครั้งในตอนเช้า

9. การไล่ตามงู จะเป็นการกระตุ้นให้งูเข้ามาแว้งกัดคุณได้

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่างูที่กัดคุณเป็นงูพิษหรือไม่ ?

1. เมื่อถูกงูกัด ให้สังเกตรอยกัดหากมีรอยฟัน2 ชุด และมีรอยเขี้ยวใหญ่เห็นได้ชัด แสดงว่ามันคืองูพิษ

2. บริเวณรอบรอยกัดผิวหนังเริ่มซีดและบวม เจ็บปวดบริเวณที่ถูกกัด

3. มีอาการ ดังนี้ หายใจลำบาก คลื่นไส้ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีไข้

แต่พิษงูแต่ละชนิดก็ส่งผลที่แตกต่างกันกับมนุษย์ หากคุณถูกงูพิษทั่วไปกัด อาจไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็ควรไปพบแพทย์ทันที และคุณควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ดังนี้

1. หากพิษของงูค้างอยู่ด้านนอกแผล ให้ระมัดระวังเพื่อไม่ให้มันเข้าไปในแผลได้

2. ดื่มน้ำให้มากๆ ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเด็ดขาด และแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เหล่านี้ก็ห้ามดื่มเช่นกัน

3. ใช้วิธีดามแผลให้อยู่นิ่งๆ เพื่อให้พิษงูชะลอการซึมเข้าสู่ร่างกาย หากหัวใจคุณเต้นเร็วเท่าไหร่ พิษงูก็จะเข้าสู่ร่างกายเร็วเช่นกัน

4. ไม่ควรตัดหรือกรีดปากแผลเพื่อเอาพิษออกเอง ห้ามขันชะเนาะ และไม่ควรเอาอะไรไปทาแผลเด็ดขาด

5. หากคุณตีงูตาย ควรนำงูไปให้แพทย์ดูด้วย เพราะจะช่วยให้รักษาได้ง่ายขึ้น หากรู้ว่างูอะไรกัด

สุดท้าย บทความนี้อาจให้ความรู้กับคุณได้บ้าง แต่หากเจองูจริงๆ ควรรีบติดต่อหน่วยงาน เช่น สวพ.91 หรือ จส.100 และดักทางออกงูให้ดี เพื่อรอผู้เชี่ยวชาญมาจับงูนั้นไป

ที่มา : brightside , เรียบเรียง : Soooksan